วิเคราะห์หุ้นกู้ SCG (SCC) 4 ปี ดอกเบี้ย 3.20% | คุ้มค่าน่าลงทุนหรือไม่?

2/27/2025

บทวิเคราะห์ หุ้นกู้ของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC)

ครั้งที่ 1/2568 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ 2572

บทวิเคราะห์ หุ้นกู้ของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ครั้งที่ 1/2568 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ 2572
บทวิเคราะห์ หุ้นกู้ของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ครั้งที่ 1/2568 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ 2572

ข้อมูลพื้นฐานของหุ้นกู้ SCG รุ่น 1/2568

ข้อมูลพื้นฐานจาก Factsheet

  • อายุตราสาร  : 4 ปี

  • อัตราดอกเบี้ยคงที่ : คงที่ 3.20% ต่อปี

  • งวดการชำระดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน

  • การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี

  • มูลค่าเสนอขายรวม : ไม่เกิน3,000 ล้านบาท

  • หลักประกัน/ผู้ค้ำประกัน : ไม่มี

  • ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

  • วัตถุประสงค์การใช้เงิน : นำไปชำระหนี้คืนหุ้นกู้เดิม (SCC254A)

อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้

  • อันดับ A(tha)

  • แนวโน้ม “คงที่”

  • จัดอันดับเมื่อวันที่ 20 ม.ค 2568 โดย บจก.ทริสเรทติ้ง

รายละเอียดอื่น

  • เปิดจองสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ SCC254A : วันที่ 3-7 มีนาคม พ.ศ. 2568

  • เปิดจองสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ปัจจุบัน: วันที่ 25 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2568

  • เปิดจองสำหรับผู้ลงทุนประชาชนทั่วไป: วันที่ 28- 31 มีนาคม พ.ศ. 2568

  • วันออกหุ้นกู้ : 1 เมษายน 2568

  • วันครบกำหนดไถ่ถอน : 1 เมษายน 2572

  • ประเภทการเสนอขาย : บุคคลทั่วไป

  • ผู้จัดจำหน่าย :ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน),ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

  • ผลตอบแทนของตราสารรุ่นอื่นในตลาด : 3.23% (เปรียบเทียบกับหุ้นกู้รุ่นอื่นที่อายุและอัตราผลตอบแทนเท่ากัน)

คำนวณดอกเบี้ยหุ้นกู้ SCG รุ่น 1/2568

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  1. ความเสี่ยงด้านธุรกิจและเศรษฐกิจ

    • บริษัทมีแผนขยายธุรกิจไปในด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy) และการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อกระแสเงินสดและผลประกอบการ

    • ความผันผวนทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์อาจส่งผลต่อธุรกิจของ SCG

  2. ความเสี่ยงด้านการเงิน

    • ไม่มีหลักประกัน ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้นหากบริษัทมีปัญหาทางการเงิน

    • บริษัทสามารถก่อหนี้เพิ่มเติมได้โดยไม่มีข้อจำกัด (ไม่มี Financial Covenants)

  3. ความเสี่ยงด้านตลาด

    • ราคาหุ้นกู้อาจลดลงหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น

    • หากต้องการขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด อาจขายได้ราคาต่ำกว่าที่ซื้อ

  4. ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

    • หากอันดับความน่าเชื่อถือลดลง ราคาหุ้นกู้อาจปรับตัวลง และต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทอาจเพิ่มขึ้น

ระดับความเสี่ยงหุ้นกู้ 3 - SCC1/2568
ระดับความเสี่ยงหุ้นกู้ 3 - SCC1/2568

ระดับความเสี่ยง

  • ระดับความเสี่ยง : 3

บทวิเคราะห์ (เป็นเพียงการวิเคราะห์ส่วนตัวเท่านั้น)

เราจะวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทกันว่าเป็นอย่างไรบ้าง

จากข้อมูลงบแสดงฐานะการเงินของบริษัท 3 ปี ย้อนหลัง พบว่า บริษัทมีสินทรัพย์รวมลดลงในปี 2566 อยู่ที่ ประมาณ 893,601 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 3 ในปี 2567 มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 867,046 ล้านบาท ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีการลดลงอย่างต่อเนื่อง

ตารางสินทรัพย์และหนี้สิน SCC 1/2568
ตารางสินทรัพย์และหนี้สิน SCC 1/2568

บริษัทมีหนี้สินรวมคงที่ในปี 2566 อยู่ที่ 452,004 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเล็กน้อย

ซึ่งจากการวิเคราะห์คาดว่าที่สินทรัพย์และส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงนั้น อาจจะเป็นผลจากการลงทุนที่ลดลงหรือบริษัทครบกำหนดชำระเงินทำให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

งบกำไรขาดทุนของบริษัทในปี 2565 และ 2566 นั้น มีรายได้ลดลง 9.4% ซึ่งไม่มีนัยยะสำคัญเท่าไรนัก แต่ในเดือน ก.ย 2567 นั้น จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายรวมลดลงก็จริง แต่รายได้ก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้มี EBITDA ลดลงอย่ามีนัยยะสำคัญ

และกำไรสำหรับงวดที่ลดลงอย่างมาก คาดการณ์ว่าอาจจะมาจากการที่ครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยสถาบันการเงิน

ดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ครบกำหนดต่างๆ จะเห็นสัดส่วนภาระหนี้ตามตารางด้านล่างนี้

สัดส่วนหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยของผู้ออกหุ้นกู้ SCC 1/2568
สัดส่วนหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยของผู้ออกหุ้นกู้ SCC 1/2568

จากงบกระแสเงินสดจะเห็นได้ว่ากระแสเงินดจากการดำเนินลดลงจาก 29,719 ล้านบาทในปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 15,237 ล้านบาท

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทได้รับกระแสเงินสดลดลง อีกทั้งกระแสเเงินสดจากการลงทุนติดลบอย่างต่อเนื่องทำให้คาดการณ์ได้ปัจจุบันบริษัทได้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น

และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินได้มีการชำระหนี้ออกไปในปี 2567 ทำให้กระแสเงินสดลดลงซึ่งสอดคล้องกับการกระแสเงินจากการดำเนินงานนั่นเอง

  1. สภาพคล่อง

  • Current Ratio (อัตราส่วนสภาพคล่อง): 0.8 (ต่ำกว่า 1 แสดงว่าสภาพคล่องอาจไม่ดีนัก)

    • Cash Cycle (รอบหมุนเงินสด): 82 วัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า)

    • ICR (ความสามารถจ่ายดอกเบี้ย): 3.8 (ลดลงจากปี 2565 ที่ 4.2 แต่ยังอยู่ในระดับพอรับได้)

  1. หนี้สิน

  • D/E Ratio (หนี้สินรวมต่อทุน): 1.1 (ค่อนข้างสูง)

    • IBD/EBITDA (หนี้สินดอกเบี้ยต่อ EBITDA): 7.2 (สูงขึ้นจากปี 2565 ที่ 6.2)

    • DSCR (ความสามารถชำระหนี้ระยะยาว): 0.3 (ต่ำมาก)

  1. ผลประกอบการ

  • EBIT Margin: 4.3% (ลดลงจากปี 2565 ที่ 7.9%)

    • ROA (ผลตอบแทนจากสินทรัพย์): 2.1% (ลดลงจากปีก่อน)

    • ROE (ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น): 4.4% (ลดลงจาก 9.5% ในปี 2565)

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของผู้ออกหุ้นกู้
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของผู้ออกหุ้นกู้

วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ

ข้อดี-ข้อเสียของหุ้นกู้ SCG

✅ ข้อดี

  1. เครดิตเรตติ้งที่ดี – หุ้นกู้นี้ได้รับการจัดอันดับ A (แนวโน้มคงที่) มีความน่าเชื่อถือสูง

  2. มีตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้ – ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้ ทำให้มีความมั่นใจเรื่องการติดตามสิทธิของผู้ลงทุน

  3. เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงต่่ำได้ – อายุหุ้นกู้ 4 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอจากดอกเบี้ย

  4. จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน – เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดระหว่างการถือครอง

❌ ข้อพิจารณา

  1. ผลตอบแทนอาจต่ำกว่าตราสารหนี้อื่นๆ– เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่มีอายุและเรตติ้งเดียวกัน หุ้นกู้นี้ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเล็กน้อย

  2. ไม่มีหลักประกัน – หุ้นกู้นี้เป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งหากบริษัทมีปัญหาด้านการเงิน อาจได้รับผลกระทบต่อการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย

  3. ตลาดรองอาจมีสภาพคล่องต่ำ – อาจขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดได้ยาก หรืออาจได้ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ซื้อมา

หากคุณรับความเสี่ยงเหล่านี้ได้และต้องการรายรับที่มั่นคง การลงทุนในหุ้นกู้นี้ถือว่าน่าสนใจ

แต่หากคุณต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าหรือต้องการความยืดหยุ่นในการขายก่อนครบกำหนดอาจจะยังไม่ได้แนะนำให้ลงทุน

สรุป: ควรลงทุนในหุ้นกู้นี้หรือไม่?

✅ เหมาะกับนักลงทุนที่:

  • ต้องการรายได้จากดอกเบี้ยที่มั่นคง

  • รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง

  • ไม่มีแผนจะขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด

⚠️ อาจไม่เหมาะสำหรับ:

  • นักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องสูง (อาจขายยากในตลาดรอง)

  • นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าตลาด

  • นักลงทุนที่กังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง เนื่องจากบริษัทไม่ได้กำหนด Financial Covenants อาจทำให้บริษัทมีภาระหนี้ที่สูงขึ้นและส่งผลกระทบไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นได้ตามกำหนด