EP.3 Tax The Series : สุดท้ายแล้ว เราคำนวณภาษียังไง ต้องจ่ายเท่าไหร่??
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคลคลธรรมดาแบบง่ายที่สุดในสามโลก แต่บวกลบ บวกลบ แล้วก็บวกลบ รวมถึงเรื่องลดหย่อนและวิธีการยื่น
ความรู้การเงินเรื่องภาษี
1/21/20251 นาทีอ่าน
เราคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังไง ต้องจ่ายเท่าไหร่
จากที่เราคุยกันไปแล้วใน 2 Episode ด้านล่างนี้
EP.1 Tax The Series : การยื่นภาษีคืออะไร? คำแนะนำสำหรับ First Jobber และการคำนวณภาษีอย่างง่าย (คลิกเพื่ออ่าน)
EP.2 Tax The Series : การคำนวณลดหย่อนภาษี ทำยังไงได้บ้าง ได้กี่บาท
หารายได้รวมทั้งหมด (เงินได้) : ซึ่งถ้าเป็นพนักงานบริษัทอาจจะหาดูได้จากใบทวิ 50 เพื่อดูรายได้รวมทั้งปีได้ หรือถ้าหากเป็นฟรีแลนซ์ให้กับบริษัทใดๆ มักจะมีเอกสารมาว่าเขาจ่ายให้เราเท่าไหร่
ตัวอย่าง
นาย B มีเงินเดือน 50,000 บาทต่อเดือน
มีรายได้จากงานอิสระรวม 70,000 บาทต่อปี
แสดงว่า นาย B มีรายได้ตลอดทั้งปี = 670,000 บาท
เงินเดือนทั้งปี+รายได้อื่นทั้งปี = รายได้ต่อปี
(เงินเดือน 50,000 X 12 ) + 70,000 = 670,000 บาท
ค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปจะคิดแบบเหมา สามารถนำมาหักได้ 50%ของรายได้ประจำ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่ง นาย B มีเงินเดือน 50,000 บาทต่อเดือน จากรายได้ประจำ สามารถนำมาหักใช้จ่ายแบบเหมาได้
รายได้ X 50% = รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
670,000 X 50% = 335,000 บาท
แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาท นาย B จึงสามารถหักได้เพียง 100,000 บาทถ้วน
670,000 - 100,000 = 570,000 บาท
เราจะขอมาต่อกันที่วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคำนวณภาษีแบบง่ายที่สุด คืออยากให้ทุกคนจำคำว่า "เงินได้สุทธิ" หรือเงินได้ที่แท้จริง (เราคิดคำนี้มาเองนะ) เพราะสรรพากรจะเอาสิ่งนี้ไปคำนวณเป็นภาษี
ซึ่งเงินได้สุทธิเงินได้ที่แท้จริงจะเปรียบเสมือน เราได้ค่าขนมจากพ่อแม่เดือนละ 5,000 บาท แล้วเราเอาไปใช้จ่ายเป็นค่ารถ ค่าอาหารทั้งเดือน 3,000 บาท
เงินที่เหลือ 2,000 บาทต่อเดือน หรือ 24,000 บาท ต่อปีนั้น สิ่งที่เหลือถูกเรียกว่า "เงินได้สุทธิ" เพราะหักค่าใช้จ่ายแล้วนั่นเอง
เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมดของปีนั้น - รายจ่ายทั้งหมดของปีนั้น(ตามที่กฏหมายกำหนด)
เงินได้สุทธิ คือเงินที่จะถูกนำมาคำนวณภาษี
การเสียภาษีแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิมาคำนวณ


วิธีคำนวณภาษีไปทีละสเต็ป
หักค่าใช้จ่าย (นับเป็นรายจ่ายส่วนแรก)
หักค่าลดหย่อนภาษี (นับเป็นรายจ่ายส่วนที่สอง)
ตัวอย่าง
นาย B มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งปีอยู่ที่ 570,000 บาท
โดย นาย B มีคู่สมรสที่รายได้ไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี
มีบุตร 2 คน คนโต อายุ 22 ปี คนเล็ก อายุ 15 ปี
และ นาย B ได้ซื้อกองทุน SSF 20,000 บาท กองทุน RMF 10,000 บาท
ซื้อประกันสุขภาพ 10,000 บาท
ดังนั้น นาย B จะมีรายได้สุทธิที่เท่าไหร่?
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย นาย B = 570,000 บาท
หักค่าลดหย่อนได้ดังนี้
ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
ลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
ลดหย่อนบุตร 1 คน (อายุไม่เกิน 20 ปี) 30,000 บาท
กองทุน SSF และ RMF รวมกัน 30,000 บาท
ประกันสุขภาพ 10,000 บาท
รวมค่าลดหย่อนทั้งหมด 60,000+60,000+30,000+30,000+10,000 = 190,000
ดังนั้น นาย B จะมีรายได้สุทธิ = 570,000-190,000 = 380,000 บาท










นำเงินหลังหักทุกสิ่ง หรือรายได้สุทธิ มาคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
ภาษีแบบขั้นบันได คือ อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นตามฐานรายได้หรือกำไรที่เพิ่มขึ้น
โดยแบ่งรายได้ออกเป็นช่วง (หรือขั้น) และกำหนดอัตราภาษีที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละช่วง
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษี ผู้มีรายได้สูงกว่าจะจ่ายภาษีในอัตราสูงกว่าผู้มีรายได้น้อยกว่า
ซึ่งประเทศไทยมีการคิดอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันได ดังตารางนี้


อัตราภาษีแบบขั้นบันได
150,000 (อัตราภาษีขั้นแรกยกเว้นภาษี) = 0
150,000 X 5% = 7,500 บาท
80,000 X 10% = 8,000 บาท
สรุป นาย B มีรายได้สุทธิ 380,000 บาท เมื่อนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดจะต้องเสียภาษี ดังนี้
0+7,500+8,000 = 15,500 บาท
ขั้นตอนการยื่นภาษี
1.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การยื่นภาษีต้องใช้เอกสารสำคัญ เช่น:
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
หลักฐานค่าใช้จ่าย เช่น ค่าลดหย่อนภาษี (ค่าประกันชีวิต ค่าการศึกษา เป็นต้น)
เอกสารแสดงรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย หรือเงินปันผล
2. คำนวณภาษีที่ต้องชำระ
คุณสามารถคำนวณภาษีโดยใช้สูตรพื้นฐานดังนี้:
รวมรายได้ทั้งหมดในปีภาษี
หักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายมาตรฐาน ค่าลดหย่อน และค่าประกันสังคม
คำนวณภาษีตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราเริ่มต้นที่ 5% จนถึง 35% ตามระดับรายได้สุทธิ
3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษี (แบบ ภ.ง.ด.90/91) ผ่านช่องทางดังนี้:
ออนไลน์: เว็บไซต์กรมสรรพากร (https://rd.go.th) การยื่นออนไลน์เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว โดยสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ออฟไลน์: สำนักงานสรรพากรในพื้นที่
4. ชำระภาษี
หากผลการคำนวณภาษีพบว่าต้องชำระเพิ่มเติม สามารถชำระได้หลายช่องทาง เช่น:
ชำระผ่านธนาคาร
ชำระผ่านระบบออนไลน์
ชำระที่สำนักงานสรรพากร
5. เก็บหลักฐานการยื่นและชำระภาษี
เมื่อดำเนินการทุกขั้นตอนเสร็จสิ้น อย่าลืมเก็บหลักฐานการยื่นภาษีและการชำระเงินไว้ เพราะอาจต้องใช้ในกรณีที่มีการตรวจสอบภาษีในอนาคต
Finance
Simplifying finance for everyday workers and investors.
Contact us
moneysummary.io@gmail.com
"Please contact us by writing the email subject as 'Contact Moneysummary.io Website."
© 2025. All rights reserved.