EP.1 Tax The Series : การยื่นภาษีและการคำนวณภาษีอย่างง่าย
ทำความเข้าใจการยื่นภาษีและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ First Jobber พร้อมตัวอย่างการคำนวณภาษีแบบง่ายและขั้นตอนยื่นภาษีอย่างถูกต้อง
ความรู้การเงินเรื่องภาษี
1/18/20251 นาทีอ่าน
คำถามยอดฮิตกับ First Jobber ที่ว่า “การยื่นภาษีคืออะไร ต่างจากการภาษีบุคคลธรรมดายังไง”
การยื่นภาษีคือการแสดงแบบรายได้ตลอดทั้งปี โดยพนักงานประจำทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ 10,001 บาทต่อเดือน
ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า
ซึ่งถึงแม้คุณมีเงินเดือน 10,001 - 26,000 บาทจะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องยื่นภาษี มิเช่นนั้นอาจจะโดนปรับได้ในอนาคต
และสำหรับท่านที่มีเงินเดือนมากกว่า 26,000 บาท หรือ 310,000 ต่อปี ต้องเสียภาษี
ภาษีบุคคลธรรมดา
คือภาษีที่เก็บจากรายได้ของบุคคลทั่วไปที่มีรายได้
ได้แก่
บุคคลธรรมดา : พนักงานบริษัท ฟรีแลนซ์ พนักงานรับจ้างรายวัน คนที่ซื้อมาขายไป หรือทำกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนบริษัท (เช่น เปิดร้านตัดผม, ขายข้าวมันไก่) ก็รวมอยู่ในเกณฑ์นี้
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
โดยบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91
ภงด.(ย่อมากจาก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) 90 กับ 91 ต่างกันแต่ประเภทของรายได้ที่ได้รับ
ห้ามยื่นผิด!! เพราะถ้ายื่นผิดจะมีปัญหาเรื่องการบอกประเภทของรายได้
ภ.ง.ด. 90 : ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
ภ.ง.ด.91 : ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
โดยทั้งเวลาเสียภาษีบุคคลธรรมดาทั้งสองประเภท เวลาเสียภาษี จะต้องระบุแหล่งที่มาของรายได้ ซึ่งมี 8 แหล่ง
ถ้าแหล่งไหนไม่มีรายได้ ไม่ต้องใส่อะไร แต่ถ้ามี ต้องระบุว่าได้จากแหล่งนั้นกี่บาทต่อปี
รายได้จากเงินเดือน (Income from Employment)
คือ รายได้ที่ได้รับจากการทำงานหรือบริการในฐานะพนักงาน โดยมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากนายจ้างซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเป็นพนักงานประจำ สามารถดูได้จากใบ ทวิ50 ที่ทางบริษัทจะออกให้ เนื่องจากจะมีกำกับเงินเดือนที่ได้และภาษีที่หักออกไปแล้วในแต่ละเดือนไว้
ดาวน์โหลดตัวอย่าง ทวิ 50
รายได้จากการประกอบธุรกิจหรือการค้า (Business and Trade Income) หรือค่าลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์
คือ รายได้ที่ได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การให้บริการ หรือการค้าขายต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นรายได้จากการดำเนินกิจการหรือการค้าสินค้ารายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน (Income from Property Rental)
คือ รายได้ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินต่าง ๆ โดยการเก็บค่าเช่าจากผู้เช่ารายได้จากการขายทรัพย์สิน (Income from Sale of Property)
คือ รายได้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สิน เช่น การขายที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มีมูลค่ารายได้จากดอกเบี้ย (Income from Interest)
คือ รายได้ที่เกิดจากการได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุนหรือการฝากเงินในธนาคาร รวมถึงดอกเบี้ยจากการให้ยืมรายได้จากเงินปันผล (Income from Dividends)
คือ รายได้ที่ได้รับจากการถือหุ้นหรือการลงทุนในบริษัทที่จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นรายได้จากการให้บริการ (Income from Services)
คือ รายได้ที่เกิดจากการให้บริการต่าง ๆ เช่น ค่าบริการจากการให้คำปรึกษา การทำงานเสริม หรือการให้บริการทางการค้าเช่น เราไม่ได้ทำงานประจำให้บริษัท A และไปรับจ้างกับบริษัท A
ในการชำระเงินให้เรา ทางบริษัทอาจจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมถึงระบุเงินที่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถดูได้จากใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบเสนอราคา
ดาวน์โหลดตัวอย่างใบเสนอราคา (แบบมีหัก ณ ที่จ่าย หรือเขาจ่ายภาษีบางส่วนให้เราแล้ว)
รายได้อื่น ๆ (Other Income)
คือ รายได้ที่ไม่สามารถจัดประเภทได้ตามข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น เช่น รายได้จากการชดเชยต่าง ๆ หรือการได้รับผลประโยชน์จากการทำธุรกรรมอื่น ๆ
การยื่นภาษี
สาเหตุที่เราต้องระบุทั้งประเภทว่าเราต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาแบบใด (ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91) และเรามีรายได้จากแหล่งไหน กี่บาท เพราะรายได้แต่ละประเภทเราลดหย่อนภาษีได้ไม่เท่ากัน
การลดหย่อนภาษี คือการที่แทนเราจะต้องจ่ายภาษีเต็มๆ 100%
ทางรัฐบาลสามารถให้เราเอา "ค่าใช้จ่ายบางส่วน" ไปยื่น(เรียกว่ากระบวนการลดหย่อนภาษีนั่นแหละ) เพื่อหักลบกับรายได้ และทำให้เสียภาษีน้อยลง
ตัวอย่างสิ่งที่นำไปลดหย่อนภาษีได้
ตัวเราเอง ลดหย่อนได้ 60,000 เลยนะ!!
คู่สมรส
บุตร
บิดามารดา
การลงทุนต่างๆ เช่น กองทุน ThaiESG, กองทุน PVD
เงินสมทบประกันสังคม (ใช่ครับ ที่คุณจ่ายทุกเดือนนั่นแหละ)
ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
การบริจาคต่างๆ
เงินกู้บ้าน/คอนโด
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในที่นี้คิดว่าทุกคนคงเข้าใจแล้วว่าทำไมเราควรสอนการยื่นภาษีตั้งแต่ในมหาลัย เพราะมันแอบซับซ้อนนิดหน่อย
สำหรับบทความนี้อาจจะต้องจบเพียงเท่านี้ แต่เราอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นในอีก 2 บทความของเรา
1.การลดหย่อนภาษี ทำยังไง?? ลดได้เท่าไหร่??
2.สุดท้ายแล้ว เราคำนวณภาษียังไง ต้องจ่ายเท่าไหร่??
Finance
Simplifying finance for everyday workers and investors.
Contact us
moneysummary.io@gmail.com
"Please contact us by writing the email subject as 'Contact Moneysummary.io Website."
© 2025. All rights reserved.