การปรับปรุงโครงสร้างหนี้คืออะไร? วิธีลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับลูกหนี้

3/12/2025

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้คืออะไร? วิธีลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับลูกหนี้

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้คืออะไร
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้คืออะไร

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้คืออะไร?

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring) เป็นกระบวนการแก้ไขเงื่อนไขหนี้ที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับสภาพทางการเงินของลูกหนี้ โดยอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาชำระหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนประเภทของหนี้ หรือการลดภาระหนี้บางส่วน

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการหนี้ได้ดีขึ้น ทำให้หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ (Default) และป้องกันไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย หรือ NPL (Non-Performing Loan: ) ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องทางแพ่งในอนาคต

ข้อดีของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

  1. ลดภาระทางการเงิน – การปรับปรุงเงื่อนไขการชำระหนี้ช่วยให้ลูกหนี้สามารถบริหารกระแสเงินสดได้ดีขึ้น

  2. หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ – ป้องกันปัญหาทางกฎหมายและรักษาเครดิตทางการเงิน

  3. เพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวทางธุรกิจ – ลูกหนี้สามารถนำเงินทุนไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจได้

  4. ลดต้นทุนทางการเงิน – หากสามารถลดอัตราดอกเบี้ยหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ได้ อาจช่วยลดต้นทุนโดยรวมของหนี้

  5. ปรับปรุงสถานะทางเครดิต – ช่วยให้ลูกหนี้มีความน่าเชื่อถือทางการเงินมากขึ้นในระยะยาว

ข้อเสียของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

  1. อาจต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม – ธนาคารหรือเจ้าหนี้อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ

  2. มีผลต่อเครดิตบูโร – ประวัติการชำระเงินจะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรเป็นเวลา 3 ปี นับจากวันที่ชำระยอดสินเชื่อครบถ้วน หลังจากนั้น ถ้าคุณรักษาวินัยทางการเงิน และชำระหนี้ตามเงื่อนไขใหม่อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้กลับมามีประวัติการเงินที่ดีขึ้นได้

  3. ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระในอนาคต – หากปรับโครงสร้างหนี้แต่ลูกหนี้ยังคงมีปัญหาทางการเงิน อาจต้องเผชิญกับปัญหาหนี้ซ้ำซ้อน

  4. ข้อจำกัดจากเจ้าหนี้ – อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากเจ้าหนี้ เช่น การต้องมีหลักประกันเพิ่ม หรือการจำกัดการก่อหนี้ใหม่

gray high-rise building at night time
gray high-rise building at night time

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว?

การปรับโครงสร้างหนี้มีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการภาระหนี้ได้ดีขึ้น สามารถขยายระยเวลาชำระหนี้ได้ อีกทั้งยังลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และลดโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบทางการเงินที่ร้ายแรง เช่น การถูกฟ้องร้องบังคับคดีหรือการถูกยึดทรัพย์สิน

สัญญาเตือนว่าควรพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้ว

  • ภาระหนี้เกินความสามารถในการชำระคืน – เมื่อรายได้ลดลงหรือมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสูงขึ้น

  • ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน – ไม่สามารถหมุนเวียนเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • หลีกเลี่ยงการฟ้องร้องหรือบังคับคดี – ลดความเสี่ยงจากการถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

  • เพื่อรักษาความสามารถทางเครดิต – ป้องกันไม่ให้เครดิตเสียและมีโอกาสกู้เงินในอนาคต

  • เพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวทางธุรกิจ – สำหรับธุรกิจที่ต้องการปรับแผนทางการเงินเพื่อให้อยู่รอดและเติบโตต่อไป