พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2568 | เจาะลึกกฎหมายใหม่และผลกระทบ

สำรวจ พ.ร.ก.ไซเบอร์ฉบับใหม่ ปี 2568 กับมาตรการจัดการอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและบทลงโทษที่เข้มงวดขึ้น

อัพเดตข่าว

2/4/20251 นาทีอ่าน

อัพเดต พรก.ไซเบอร์ 2568

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน อาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

หนึ่งในปัญหาที่คนไทยต้องเผชิญอยู่บ่อยครั้งก็คือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เทคนิคการโทรศัพท์หลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวและเงินของเหยื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อันตรายมากกว่าที่หลายคนคิด

เนื่องจากมีรูปแบบการหลอกลวงที่ซับซ้อนและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ โดยปัจจุบันการก่ออาชญากรรมเทคโนโลยีด้านคดีฉ้อโกงออนไลน์มีการทวีความรุนแรงมากขึ้นและ เพิ่มปริมาณการทำผิดมากขึ้นและต่อเนื่อง

ซึ่งจะถูกหลอกลวงผ่านวิธีการต่างๆ เช่น หลอกลวงเป็นเจ้าหน้าที่ แอพกู้เงินนอกระบบ และหลอกลงทุนในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

จากสถิติรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติปี 2566 พบว่า คดีอชญากรรมออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นถึง 35% โดยส่วนใหญ่เป็นการฉ้อโกงออนไลน์

การประกาศใช้ พรก.ไซเบอร์ฉบับปี 2568

ที่ผ่านพบว่ามาตรการบังคับทางกฎหมายยังไม่เพียงพอกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาขึ้นของกลุ่มมิจฉาชีพ จึงต้องเร่งพัฒนาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายปัจจุบันให้ทันสมัย เหมาะสม และครอบคลุมกับสถานการณ์ในยุคดิจิทัลที่อาชญากรรมทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ

ปัจจุบันเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2568 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีฉบับใหม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยข้อกำหนดเพิ่มเติมที่สำคัญดังนี้

  1. เพิ่มอำนาจการดำเนินการกับแพลตฟอร์ม P2P ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด: ห้ามการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Lending (P2P) ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด และกำหนดโทษสำหรับผู้ให้บริการที่ฝ่าฝืน

  2. เพิ่มหน้าที่ให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องระงับซิมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด: ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ต้องระงับการใช้ซิมการ์ดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด เพื่อป้องกันการใช้ซิมการ์ดในการหลอกลวง

  3. เพิ่มบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี: กำหนดโทษสำหรับผู้ซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล โดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  4. เพิ่มหน้าที่การส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีม้าของธนาคารต่าง ๆ ไปยัง ปปง.: ธนาคารต้องส่งข้อมูลบัญชีที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อเร่งรัดการตรวจสอบและคืนเงินให้กับผู้เสียหายได้รวดเร็วขึ้น

  5. เพิ่มบทลงโทษให้สถาบันการเงิน เครือข่ายมือถือ และสื่อสังคมออนไลน์มีส่วนรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น: หากหน่วยงานเหล่านี้ละเลยการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน จะต้องร่วมรับผิดชอบและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

คาดว่าพระราชกำหนดฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 โดยพรก.ฉบับนี้มุ่งเน้นการเพิ่มความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ และแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ อีกทั้งยังป้องกันและลดความเสียหายจากอาชญากรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้